งานข้อมูลพื้นฐาน (จปฐ) ปี 2559

1. ข้อมูลพื้นฐาน
   ข้อมูลพื้นฐาน เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทย ที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐาน
ขั้นต่ำของเครื่องชี้วัดว่า อย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับ ความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับไหน ในช่วงระยะเวลา
หนึ่ง ๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่าในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว
รวมไปถึงหมู่บ้านอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ

2. หลักกำรของข้อมูลพื้นฐาน
   2.1 ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ ของประชาชนใน
หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง และชุมชนว่า
บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่
   2.2 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยผ่านกระบวนการความจำเป็นพื้นฐานนับ
ตั้งแต่การกำหนดปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ค้นหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนการ
ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
   2.3 ใช้ข้อมูลพื้นฐานเป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาที่แท้จริงของชุมชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างทั่วถึง และมีประสิ


3. วัตถุประสงค์ของข้อมูลพื้นฐาน
   “เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง และครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
อย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัด เป็นเครื่องมือ”


4. แนวคิดและควำมเป็นมำของข้อมูลพื้นฐาน
   ข้อมูลพื้นฐาน ที่ได้มีการจัดเก็บโดยประชาชนด้วยความสนับสนุนของคณะทำงานบริหารการ
จัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะทำให้ทราบว่า แต่ละครัวเรือนมีปัญหาอะไร
หมู่บ้านและตำบลมีปัญหาอะไร และเมื่อทราบแล้วส่วนใดสามารถแก้ปัญหาเองได้ครัวเรือนแต่ละครัวเรือน
และคณะกรรมการชุมชน/หมู่บ้านก็ต้องช่วยกันดำเนินการแก้ไข ส่วนใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้เอง ก็ให้
ขอรับการสนับสนุนบางส่วนหรือทั้งหมดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด (อบจ.)ส่วนราชการในภูมิภาค (อำเภอ, จังหวัด)ส่วนราชการส่วนกลาง (กรม, กระทรวง) หรือ
ในระดับรัฐบาลต่อไป
ปี 2525 แนวความคิดเกิดขึ้นครั้งแรก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติได้กำหนดรูปแบบลักษณะของสังคมไทยและคนไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต โดยกำหนดเป็นเครื่อง
ชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานของคนไทย ซี่งได้ข้อสรุปว่า “การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย จะต้องผ่านเกณฑ์
ความจำเป็นพื้นฐานทุกตัวชี้วัด”
ปี 2528 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติเมื่อวันที่ 20สิงหาคม 2528 ให้มีการดำเนินการโครงการ
ปีรณรงค์คุณภาพชีวิตและประกาศให้เป็น “ปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.)”
(20 สิงหาคม 2528 - 31 ธันวาคม 2530) โดยใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน 8 หมวด 32 ตัวชี้วัด
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทยว่า อย่างน้อยคนไทยควรมีคุณภาพชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง
และควรมีระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
ปี 2531 คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบโครงการปีรณรงค์ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานต่อ ภายใต้ชื่องานว่า “งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท
(พชช.)”


5. การกำหนดเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน
   กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการชี้วัดว่าคนในแต่ละครัวเรือน ควรมีคุณภาพชีวิตขั้นต่ำ ในเรื่องนั้น ๆ ในช่วง
ระยะเวลาหนึ่ง ๆ (ปกติจะกำหนด 5ปี ตามระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)ตามเกณฑ์
ที


6. หัวใจของข้อมูลพื้นฐาน คืออะไร
   หัวใจของการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานแท้จริงแล้วอยู่ที่ “ประชาชน” ที่สามารถทราบปัญหาของ
“ตนเอง” เวลาที่จัดเก็บข้อมูล ประชาชนจะทราบทันทีว่า “เขามีคุณภาพชีวิต เป็นอย่างไร ขาดข้อใด”
โดย จปฐ. เป็นเสมือนวัฎจักรที่สามารถช่วยในการปรับปรุงตนเอง คำว่า “ตนเอง” ในที่นี้ยังหมายรวมถึง
“ชุมชน/หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด”อีก


7. ประโยชน์ของข้อมูลพื้นฐาน
   7.1 ประชาชนสามารถทราบว่า ตนเองมีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง ผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์
ใดบ้าง ทั้งนี้ไม่จำเป็นเสมอไปว่าคนรวยหรือคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะคุณภาพชีวิต
ที่ดีนั้นมิได้วัดที่รายได้เพียงอย่างเดียว
   7.2 ภาคราชการ หรือภาครัฐ สามารถทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของประชาชนว่าครอบครัว
ครัวเรือน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัดใด มีปัญหาในเรื่องอะไร เพื่อสามารถวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ

  7.3 ภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจและวางแผนในการบริหารจัดการเพื่อลงทุน
ทางธุรกิจ

 
8. เครื่องชี้วัดข้อมูลพื้นฐาน
  ช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ( พ.ศ. 2555 - 2559)
เครื่องชี้วัดข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 11 ( พ.ศ. 2555 - 2559) มี 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด ดังนี้
  หมวดที่ 1 สุขภาพดี มี 7 ตัวชี้วัด
    หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย มี 8 ตัวชี้วัด
      หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด
        หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า มี 4 ตัวชี้วัด
          หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย มี 6 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 1 : สุขภำพดี (คนไทยมีสุขภำพและอนำมัยดี) มี 7 ตัวชี้วัด
ที่ ตัวชี้วัด ปี 2555 - 2559 หน่วย
1 เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม                                        คน
2 เด็กแรกเกิดถึง 12 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริม       คน
3 เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน                    คน
4 ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน               ครัวเรือน
5 คนในครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัด บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม   คน
6 คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อ
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง                                                      คน
7 คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกาลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที        คน

หมวดที่ 2 : มีบ้ำนอำศัย (คนไทยมีบ้ำนอำศัยและสภำพแวดล้อมเหมำะสม) มี 8 ตัวชี้วัด
ที่ ตัวชี้วัด ปี 2555 - 2559 หน่วย
8 ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และบ้านมีสภาพคงทนถาวร                   ครัวเรือน
9 ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี                        ครัวเรือน
10 ครัวเรือนมีน้ำช้เพียงพอตลอดปี                                                   ครัวเรือน
11 ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะ    ครัวเรือน
12 ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ                                                 ครัวเรือน
13 ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี                                         ครัวเรือน
14 ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                                   ครัวเรือน
15 ครอบครัวมีความอบอุ่น                                                           ครัวเรือน


หมวดที่ 3 : ฝักใฝ่กำรศึกษำ (คนไทยมีกำรศึกษำที่เหมำะสม) มี 5 ตัวชี้วัด
ที่ ตัวชี้วัด ปี 2555 - 2559 หน่วย
16 เด็กอายุ 3 - 5 ปีเต็ม ได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน        คน
17 เด็กอายุ 6 -14 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี                             คน
18 เด็กจบชั้น ม.3 ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า                              คน
19 เด็กจบการศึกษาบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำ  ได้รับการฝึกอบรม
ด้านอาชีพ                                                                             คน

20 คนอายุ 15 - 60 ปีเต็ม อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้         คน


หมวดที่ 4 : รำยได้ก้ำวหน้ำ (คนไทยมีงานทำและมีรำยได้) มี 4 ตัวชี้วัด
ที่ ตัวชี้วัด ปี 2555 - 2559 หน่วย
21 คนอายุ 15 - 60 ปีเต็ม มีอาชีพและมีรายได้                                  คน
22 คนอายุมากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป มีอาชีพและมีรายได้                          คน
23 คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าคนละ 30,000 บาทต่อปี           ครัวเรือน
24 ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน                                                      ครัวเรือน


หมวดที่ 5 : ปลูกฝังค่ำนิยมไทย (คนไทยประพฤติดีและมีคุณธรรม) มี 6 ตัวชี้วัด
ที่ ตัวชี้วัด ปี 2555 - 2559 หน่วย
25 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราว เฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 1 ครั้งฯ) คน
26 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่                                                           คน
27 คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง         คน
28 คนสูงอายุ ได้รับการดูแลจากคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน หรือภาครัฐ          คน
29 คนพิการ ได้รับการดูแลจากคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน หรือภาครัฐ           คน
30 คนในครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของหมู่บ้าน/ชุมชน หรือ
ท้องถิ่น                                                                                ครัวเรือน

...............................................................................................
ข้อมูลการจัดเก็บ จปฐ อำเภอห้วยราช ในปี 2558
เขตชนบท จัดเก็บ 6,631 ครัวเรือน
เขตเมือง   จัดเก็บ 1,024 ครัวเรือน

เป้าการจัดเก็บ ข้อมูลพื้นฐาน จปฐ ปี 2559
เขตชนบท จำนวน 6,590 ครัวเรือน
เขตเมือง จำนวน 1,036 ครัวเรือน

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น